โดย ปัณณชา เลิศลาภนนท์
22.12.2024
จะทำอย่างไรเมื่อผู้สูงอายุในบ้านล้ม?!
การล้มเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเกิดจากการลื่นล้ม เวียนหวแล้วล้ม หรือสาเหตุอื่น ๆ และอาจนำไปสู่การบาดเจ็บร้ายแรงได้ เช่น กระดูกสะโพกหัก หรือบาดเจ็บที่ศีรษะ ครอบครัวควรเตรียมตัวให้พร้อมและรู้วิธีรับมือเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้น
1. ตรวจสอบความปลอดภัยของผู้สูงอายุ
เมื่อพบว่าผู้สูงอายุล้ม สิ่งแรกที่ควรทำคือ:
- ไม่เคลื่อนย้ายผู้สูงอายุทันที: ตรวจสอบว่าไม่มีการบาดเจ็บที่รุนแรง เช่น กระดูกหักหรือบาดเจ็บที่ศีรษะ
- สังเกตอาการ: หากผู้สูงอายุมีอาการปวด บวม หรือไม่สามารถขยับตัวได้ ควรรีบโทรแจ้งสายด่วนแพทย์ฉุกเฉิน (1669)
2. วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น
หากผู้สูงอายุสามารถขยับตัวได้:
- ช่วยพยุงอย่างถูกวิธี: ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง เช่น เก้าอี้ หรือไม้เท้า เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุลุกขึ้นอย่างปลอดภัย
- ตรวจสอบรอยฟกช้ำ: หลังจากลุกขึ้น ควรตรวจสอบว่ามีบาดแผลหรือรอยฟกช้ำที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลหรือไม่
3. ปรึกษาแพทย์หลังการล้ม
แม้การล้มดูเหมือนไม่ร้ายแรง แต่ควรพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คอาการเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพบว่ามี:
- ศีรษะกระแทก
- ความดันโลหิตต่ำ
- เวียนศีรษะหรือหมดสติ
- การเดินหรือขยับตัวผิดปกติ
4. การป้องกันการล้มในอนาคต
เพื่อหลีกเลี่ยงการล้มซ้ำในอนาคต สิ่งที่ควรทำคือ
- ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในบ้าน: จัดบ้านให้เป็นระเบียบ มีแสงสว่างเพียงพอ และติดตั้งราวจับในพื้นที่เสี่ยง เช่น ห้องน้ำ โถงทางเดิน บันได
- ใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน: หากผู้สูงอายุมีปัญหาในการเดิน ควรพิจารณาใช้ไม้เท้าหรือวอล์คเกอร์
5. การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
สุขภาพที่แข็งแรงสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการล้มได้ ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพได้โดย
- ออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ: เช่น โยคะ หรือการเดิน
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ: เพื่อตรวจสอบภาวะที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการล้ม เช่น โรคกระดูกพรุน หรือสมดุลการเคลื่อนไหว
การล้มในผู้สูงอายุอาจเกิดขึ้นได้เสมอ แต่การมีแผนรับมือและการป้องกันที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบได้ที่อาจเกิดขึ้นได้ หากคุณกำลังมองหาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็ปไซต์ Dulaedee.com ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ และแหล่งค้นหาบ้านพักคนชราและศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย